08.10.65
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย บรรยายพิเศษ “การสร้างตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว (Destination Branding)” ให้กับหลักสูตรปริญญาเอก นิเทศศาสตร์ศาสตร์์
 
        ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การสร้างตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว (Destination Branding)” ให้กับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย



        โดยในการบรรยายดังกล่าว ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ได้อธิบายถึง Destination branding หรือ การสร้างตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนอย่างยั่งยืน ที่ได้กลาย เป็นแนวคิดที่สำคัญแนวคิดหนึ่ง ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย เนื่องด้วยแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนหรือแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นของจังหวัดต่างๆ ในประเทศมีศักยภาพสูง และสามารถสร้างคุณค่า มูลค่าได้อีกหลายด้าน ตามหลักเกณฑ์ในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่สำคัญ อาทิ การมีส่วนร่วมของชุมชน ความร่วมมือของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสร้างโอกาสการจ้างงานที่มีคุณภาพ การกระจายผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การวางแผนระยะยาว ความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องระหว่างแผนการท่องเที่ยวและแผนการพัฒนาด้านต่างๆ ความร่วมมือระหว่างแผนการท่องเที่ยวและแผนการพัฒนาด้านต่างๆ การประสานความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ การประเมินผลกระทบต่อการท่องเที่ยว การสร้างหลักเกณฑ์เพื่อประเมินผลกระทบ การเน้นผลประโยชน์ชุมชน คุณค่าสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม การพัฒนาการศึกษาแก่บุคลากร การเสริมสร้างลักษณะเด่นของชุมชน การคำนึงถึงขีดความสามารถการรองรับของทรัพยากร การดำรงรักษามรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม และการทำการตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

        สำหรับ ประเด็นหลัก ชอง Destination Branding นั้น ได้แก่ Identity ( กิจกรรม สื่อสนับสนุน ต้ังแต่ การต้ังชื่อ สัญลักษณ์ โลโก้ คำ เครื่องหมาย กราฟิก ที่บ่งชี้ และช่วยแยกแยะความแตกต่างระหว่างแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ) Continually ( การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับ ประสบการณ์ การท่องเที่ยวที่เป็นที่น่าจดจำตามความคาดหวังของนักท่องเที่ยว และมีความสัมพันธ์ อย่างเป็นเอกลักษณ์กับ แหล่งท่องเที่ยว) Emotion ( การเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างนักท่องเที่ยว กับแหล่งท่องเที่ยว ) และ Benefit (เป็นประโยชน์ที่ชัดเจน สะดวก การค้นหาข้อมูล ลดความสี่ยง และค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวสถานที่นั้นๆ ของนักท่องเที่ยว )