03.06.65
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย บรรยายพิเศษ “การจัดการความขัดแย้งและการเจรจาต่อรองเชิงสร้างสรรค์” ใน หลักสูตรผู้บริหารระดับกลาง
 
        ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย รับเชิญ เพื่อบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การจัดการความขัดแย้งและการเจรจาต่อรองเชิงสร้างสรรค์ : Creative Conflict and Negotiation Management” ให้กับ หลักสูตรนักบริหารระดับกลางกรมทางหลวง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้ารับการอบรมเป็นอันมาก ผ่านระบบ Zoom

        ในส่านของ “การจัดการความขัดแย้งและการเจรจาต่อรองเชิงสร้างสรรค์ : Creative Conflict and Negotiation Management” นั้น ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้นำเสนอโดยสรุปว่า การบริหารความขัดแย้ง คือความสามารถที่จะหาวิธีการที่จะเปลี่ยนจากความขัดแย้ง(Destructive Conflict) ให้กลายมาเป็นการสร้างสรรค์ (Constructive Conflict) ในที่สุด ความขัดแย้งจึงไม่จำเป็นที่จะต้องส่งผลในทางลบเสมอไป ในขณะเดียวกัน เราสามารถเรียนรู้วิธีการบริหารความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นให้เกิดผลในทางบวกเป็นไปในด้านการสร้างสรรค์ได้ ความจำเป็นในการบริหารความขัดแย้ง เกิดจากความรับผิดชอบที่จะต้องทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุผล จึงต้องจัดการกับความขัดแย้งให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ และส่งผลในทางที่จะทำให้เกิดสิ่งที่ถูกต้อง

        เนื้อหาผลักในการบรรยาย ประกอบด้วย เหตุผลและความจำเป็นในการบริหารความขัดแย้ง, ความหมาย ลักษณะ ความขัดแย้ง, ประเภทของความขัดแย้ง, วิธีการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ และทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขความขัดแย้ง การบริหารความหลากหลาย, ปัจจัยความหลากหลายที่ทำให้ในองค์กร มีความแตกต่าง, สมรรถนะหลัก ที่จำเป็นต่อการบริหารความหลากหลาย, กลยุทธ์บริหารจัดการด้านความหลากหลายของพนักงาน, ปฏิบัติการที่เป็นเลิศ ของการบริหารความหลากหลาย, เทคนิคการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความหลากหลาย

        ทั้งนี้ ในการบรรยาย การจัดการความขัดแย้งและการเจรจาต่อรองเชิงสร้างสรรค์ ดังกล่าว ได้มีการเสริมทักษะ ด้วยการจัดกิจกรรม workshop เพื่อพัฒนาทักษะของผู้บริหาร ประกอบด้วย
  1. ความสามารถในการพิจารณาลักษณะของข้อขัดแย้ง
  2. ความสามารถในการจำแนกประเด็นของข้อขัดแย้ง
  3. ความสามารถในการเริ่มต้นเจรจาแก้ไขข้อขัดแย้ง
  4. ความสามารถในการฟัง
  5. ความสามารถในการใช้เหตุผลและให้เหตุผล
  6. ความสามารถในการรู้จักปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้อื่น
  7. ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง
  8. ความสามารถในการอ่านปฏิกิริยาที่มีต่อคำพูด
  9. ความสามารถในการลดความรุนแรง
  10. ความสามารถในการใช้หลัก และกระบวนการแก้ปัญหา
        การเจรจาต่อรองเชิงสร้างสรรค์ ที่นำมาใช้ในการแก้ไขความขัดแย้ง จะนำมาลดความยุ่งยากและความสับสนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในระดับใดก็ตาม