 |
 |
 |
 |
 |
 |
หนังสือพิมพ์
โทรทัศน์
เว็บไซต์
|
|
|
 |
 |
|
10.09.64 |
|
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมประชุมและให้คำปรึกษา โครงการวิจัย “องค์ประกอบประสบการณ์ท่องเที่ยวชุมชนแบบองค์รวม” |
 |
 |
|
 |
ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประชุมและให้คำปรึกษา สัมภาษณ์ โครงการวิจัย“องค์ประกอบเชิงยืนยันประสบการณ์ท่องเที่ยวชุมชนแบบองค์รวมของนักท่องเที่ยวชาวไทย” ผ่านระบบสื่อสารทางไกล โดยมี ดร.ธิติพัทธ์ ลิ้มสัมฤทธิ์นิภา คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ดำเนินโครงการและสัมภาษณ์
โครงการวิจัย“องค์ประกอบเชิงยืนยันประสบการณ์ท่องเที่ยวชุมชนแบบองค์รวมของนักท่องเที่ยวชาวไทย” นี้ ได้ดำเนินการเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนภาคธุรกิจและ การท่องเที่ยวภายในประเทศ หลังจากที่รัฐบาลได้กําหนดมาตรการเร่งด่วนในการฟื้นฟูและเยียวยาเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวภายในประเทศด้วยมาตรการการท่องเที่ยวชุมชนเป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว สู่วิถีชีวิตใหม่(New Normal) หลังวิกฤติการณ์ COVID-19 ควบคู่กับการเสริมเสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน เนื่องจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้นมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่โดดเด่น มีวิถีการดําเนินชีวิตที่แตกต่าง กัน ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ทรงคุณค่า รวมถึงลักษณะนิสัยของ คนไทยที่มีมิตรไมตรีทําให้เป็น โอกาสในการสร้างเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว ซึ่งในปัจจุบันองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท หน่วยงานหลักในการเร่งพัฒนาแนวทาง และ การดําเนินงาน การท่องเที่ยวโดยชุมชนได้จัดทําโครงการพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 81 ชุมชน ต้นแบบที่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (GSTC) ตอกย้ำ ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นกลไกหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยตามแนวคิดวิถี ชีวิตใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย
ทั้งนี้ ประสบการณ์ท่องเที่ยวชุมชนแบบองค์รวมของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยต้องอาศัยการสื่อสารผ่านทุก สัมผัสของมนุษย์เพื่อให้สื่อสารเรื่องราวของตราสินค้า (การท่องเที่ยวชุมชนที่ฝังลึกอยู่ในการรับรู้ของ นักท่องเที่ยวได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากประสบการณ์ทั้ง 5 ด้าน มีความสําคัญในการสื่อสารและสร้าง ประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคด้วยการได้เห็น (Sight) การลิ้มรสชาติ (Taste) การได้กลิ่น (Smell) การได้ยินเสียง (Sound) และการจับต้องสัมผัส (Touch) ซึ่งการสร้างตราสินค้าผ่านการรับรู้ทางประสาท สัมผัสทั้ง 5 (Brand Sense) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่ให้ความสําคัญกับการกระตุ้นประสาทสัมผัสส่วนอื่น ๆ เพื่อหวังผลให้เกิดการจดจําตราสินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส หรือประสบการณ์แบบองค์รวม (Brand Sense)
นอกจากนี้ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ยังได้อธิบายหลักคิดของไทย นั่นคือหลัก อายตนะ อันหมายถึงเครื่องติดต่อหรือที่เชื่อมต่อ โดยรวมแล้วหมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อใช้สำหรับในการติดต่อระหว่างกัน โดยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 อย่าง และ 1 แนวทาง นั่นคือ
1. อายตนะภายนอก ที่หมายถึงสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเรา 6 อย่าง อันประกอบด้วย รูปายตนะ คือ รูป หรือสีต่างๆ ที่มากระทบกับตาของเรา, สัททายตนะ คือ เสียง ต่างๆ ที่มากระทบกับหูของเรา, คันธายตนะ คือ กลิ่น ต่างๆ ที่มากระทบกับจมูกของเรา, รสายตนะ คือ รส ต่างๆ ที่มากระทบกับลิ้นของเรา, โผฏฐัพพายตนะ คือ สัมผัส ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะร้อน, เย็น, หย่อน, แข็ง ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มากระทบกับกายของเรา และ ธัมมายตนะ คือ อารมณ์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งมากระทบกับจิตใจของเรา
2. อายตนะภายใน หมายถึงสิ่งที่อยู่ภายในตัวเรา 6 อย่าง อันประกอบด้วย จักขายตนะ คือ ประสาทตาที่ได้รับการมองเห็นในสิ่งต่างๆ, โสตายตนะ คือ โสตประสาท หรือประสาทหู ที่ได้รับการได้ยินเสียง, ฆานายตนะ คือ ฆานประสาท หรือประสาทรับกลิ่นที่ได้รับในกลิ่น, ชิวหายตนะ คือ ชิวหาประสาท หรือประสาทรับรสในการได้รับรส, กายายตนะ คือ กายประสาท หรือประสาทที่ได้รับการสัมผัสต่างๆ และ มนายตนะ คือ จิตที่รับรู้ความเป็นอารมณ์ ทั้งหมด เป็นธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอแนวทางการสร้าง Brand Touch Point สำหรับการติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคทุกช่องทางที่ผู้บริโภคสามารถรับรู้และสร้างประสบการณ์ต่างๆ กับแบรนด์ ว่าเป็นเรื่องราว เนื้อหา สื่อ กิจกรรม ที่สามารถควบคุมได้ ถ้าหาก สามารถทำการสื่อสาร ให้ผู้บริโภคเห็นถึงแนวคิดหลักของแบรนด์ และสร้างให้แบรนด์นั้น ประสบความสำเร็จ โดยที่กล่าวมาถือได้ว่า เป็นองค์ประกอบที่สําคัญ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาการสร้างประสบการณ์การรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยว ต่อแบรนด์ที่เป็นตราสินค้าประเภทการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งการวิจัยจึงมุ่งศึกษาเพื่อค้นหาองค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนแบบองค์รวมของนักท่องเที่ยวชาวไทย อันจะนําไปสู่การบริหารการท่องเที่ยวชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป |
 |

|
|
|