[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
 
02.06.63
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมปรับปรุงหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 





           ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ให้สัมภาษณ์ ในการปรับปรุงหลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จารียา อรรถอนุชิต อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี เป็นผู้สัมภาษณ์ ผ่านระบบสื่อสารทางไกล



           หลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์ดิจิทัล ที่มุ่งสร้างผู้ผลิตสื่อดิจิทัลในพื้นที่ และกลุ่มวิชาการสื่อสารการตลาด ที่เน้นการสร้างผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่สามารถประยุกต์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์สนับสนุนธุรกิจและวิสาหกิจของชุมชน โดยหลักสูตรฯ ต้องการทราบความคาดหวังขององค์กรและนักวิชาชีพ โดยมีข้อคำถามที่สำคัญ ประกอบด้วย ตลาดแรงงานหรือวิชาชีพด้านการสื่อสารในอนาคต ความรู้ที่ต้องปรับปรุงจากผลของความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพด้านการสื่อสารในอนาคต คุณสมบัติเด่นของนักนิเทศศาสตร์ การสร้างความแตกต่าง บทบาทต่อสังคมและชุมชน ต่อการพัฒนาหลักสูตรฯ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ต่อไป

           ทั้งนี้ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้ให้ข้อคิดเห็น โดยสรุป ดังนี้

           ทุกวันนี้ ดิจิทัล ได้เข้ามามีบทบาททั้งกับสังคม ตลาดแรงงาน และการใช้ชีวิตมาก จากปรากฏการณ์ Digital Disruption สังคมมีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น การปูพื้นให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีให้ มีการนำดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนา เพื่อการใช้รับมือต่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ดิจิทัลให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง สังคม ประเทศชาติให้ได้ โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นให้ได้ วิชาชีพด้านการสื่อสารในอนาคตจึงต้องการคนที่มีทักษะวิชาชีพ ควบคู่กับทักษะวิชาการ เน้นการนำไปใช้ได้จริง เตรียมให้นักศึกษาสร้างผลงาน ทำงานเป็น วิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารการตลาด ความรู้ที่ต้องมี 2 ส่วน คือ 1.ความรู้เกี่ยวกับแผนเชิงกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารการตลาด ที่นักศึกษาต้องมีความเข้าใจ จัดทำเป็น 2. ความรู้ด้านการผลิตสื่อ เนื้อหา และการสร้างสรรค์กิจกรรมการสื่อสารการตลาดในสังคมดิจิทัล โดยทั้งสองส่วนนี้ ต้องแม่นเรื่องของวัตถุประสงค์ในงาน และตีโจทย์เป็น แต่ละที่มีจุดแข็งไม่เหมือนกัน แต่เราสามารถดึงจุดแข็งดังกล่าวออกมาสร้างคนได้ ต้องรู้และเข้าใจแบบแผน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของแผนงาน และเติมเต็มให้ได้แบบมีคุณภาพ



           ดังนั้น การจัดการของหลักสูตร ต้องเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะของนักศึกษา ศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการเป้าหมาย เช่น การทำแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด แผนการประชาสัมพันธ์ มีความเชื่อมโยงของแต่ละวิชา นอกจากนี้ ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่นักสื่อสารต้องมี คือ ความคิดสร้างสรรค์ ในทุกกิจกรรมด้านการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา และการสื่อสารการตลาด จัดให้มีการแข่งขัน หรือเวทีการนำเสนอ แลกเปลี่ยนแนวคิด ผลงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยมีการคิดและสร้างงานร่วมกัน การฝึกให้นักศึกษาสามารถทำแผนและบริหารจัดการแผน ในแต่ละสถานการณ์ได้ ทั้งนี้ การมีแบบจำลองสถานการณ์จริง ที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน เปิดเวทีให้คิดบ่อย ๆ ให้ รู้จักคิด วิเคราะห์ ทำแผนด้วยกัน ต้องวางแผนได้ / มีความคิดสร้างสรรค์ / ผลิตสื่อและดำเนินกิจกรรมได้ / สร้าง Content ได้ โดยเนื้อหาในที่นี้อาจไม่ใช่แค่ข้อเขียน แต่เป็นได้ทั้งเขียนข้อความ กิจกรรมหรือภาพ เพราะสื่อประชาสัมพันธ์เป็นนวัตกรรมที่ลื่นไหลตลอดเวลา Content สำคัญมาก และในทางการสื่อสารการตลาด Content ก็คือจุดขายนั่นเอง / มีความสามารถเชิงกลยุทธ์ / มีคุณสมบัตินักสื่อสารและสื่อสารการตลาดที่ครบถ้วน / เข้าถึงและใช้งานดิจิทัลได้ดี

           หลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ควรใช้การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมบริการและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่สากล การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่นและสามารถตอบโจทย์ท้องถิ่นและตลาดสากลได้ “ความคิดสร้างสรรค์ ต้องมองเห็นและสร้างโอกาสทางการตลาด”บทบาทต่อสังคมและชุมชนจำเป็นต้องเกาะติดงานที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ เข้าไปสนับสนุนชุมชน และร่วมกับภาคธุรกิจทำให้เป็น CSR , USR , Business Model สร้าง Community ให้แข็งแรง และมีความต่อเนื่อง

คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  เป็นคณะวิชาที่เน้นการบูรณาการศาสตร์แห่งการสื่อสาร คือ "นิเทศศาสตร์" กับ "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" เพื่อสร้างองค์ความรู้และผลิตบัณฑิตแห่ง "สังคมสารสนเทศ" (information society) และ "สังคมฐานความรู้" (knowledge-based society) ที่จะต้องพร้อมด้วยศักยภาพในการสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีอย่างเชี่ยวชาญ สร้างสรรค์ และรู้เท่าทัน อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ความรู้เพื่อพัฒนาตนให้เป็นผู้นำทางวิชาชีพ ทางวิชาการ และทางสังคมในอนาคต  โดยมี พันธกิจ ประกอบด้วย  1. ผลิตบัณฑิตให้เป็นคนเก่งและดีที่ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม                2. มุ่งเน้นการวิจัยด้านวิทยาการสื่อสารเพื่อสันติในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม 3. พัฒนาคณะให้เป็นศูนย์กลางการผลิตสื่อและบริการวิชาการด้านวิทยาการสื่อสารในภูมิภาค 4.ปฏิบัติทุกภารกิจของคณะโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้สู่องค์การแห่งการเรียนรู้  ภายใต้ วิสัยทัศน์ คณะวิทยาการสื่อสารมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นคนเก่งและดีที่ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม เป็นเลิศในการวิจัยด้านการสื่อสารเพื่อสันติ เป็นศูนย์กลางการผลิตสื่อและบริการวิชาการด้านวิทยาการสื่อสารในภูมิภาค และเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้









 

 

[an error occurred while processing this directive]