16.04.63
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมกับ เครือข่ายสมาพันธ์ระดับโลกเพื่อการประชาสัมพันธ์และการจัดการการสื่อสารแถลง 12 ข้อแนะนำ PR และการสื่อสารที่เหมาะสม ในช่วงการระบาดไวรัส Covid-19
 
unsplash-logoBrian McGowan
           สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย (PRTHAILAND : Thailand Public Relations Association) สมาชิกเครือข่ายองค์กรประชาสัมพันธ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( APRN : ASEAN Public Relations Network) ร่วมกับ เครือข่ายสมาพันธ์ระดับโลกเพื่อการประชาสัมพันธ์และการจัดการการสื่อสาร ( GA : The Global Alliance for Public Relations and Communication Management) ร่วมชี้แจง 12 ข้อแนะนำของการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส Coronavirus COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันทางสังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ของมวลมนุษยชาติที่อยู่ร่วมกัน

           ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้กล่าว
ว่า “จากการแพร่ระบาดของไวรัส Coronavirus COVID-19 ที่ระบาดหนักอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ ถือเป็นภาวะวิกฤตที่ส่งผลให้เกิดความเสียหาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม แก่ประชากรโลกและประเทศไทย เป็นอันมาก การประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร ถือเป็นทั้งเครื่องมือ และช่องทางที่สำคัญในภาวะวิกฤต ที่ต้องอาศัยความเข้าใจในการกำหนดกลยุทธ์ทางการแก้ไขและการสื่อสารที่รอบคอบ โดยเฉพาะกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด และความสามารถในการแก้ไขที่เฉียบคม ตรงจุด และสื่อความได้ชัดเจน เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารที่เกี่ยวข้อง สังคม จากการจัดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จึงได้ร่วมกับเครือข่ายสมาพันธ์ระดับโลกเพื่อการประชาสัมพันธ์และการจัดการการสื่อสาร ( GA : The Global Alliance for Public Relations and Communication Management) ซึ่งตั้งอยู่ที่ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อจัดทำข้อแนะนำ ในการประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส Coronavirus COVID-19 อย่างมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ที่น่าสนใจ ดังนี้

           1. คำนึงถึงผลกระทบจากการสื่อสารเสมอ : ก่อนทำการสื่อสารทุกครั้ง ควรคิดถึงผลกระทบของข้อความนั้นที่จะเกิดขึ้นต่อองค์กร และภาพรวมทุกครั้ง อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ

           2. ต้องสื่อสารข้อมูลที่เป็นความจริง : อย่าปกปิดข้อมูล หรือบิดเบือนข่าวสารที่ส่ง ต้องสื่อสารเนื้อหาบนพื้นฐานของข้อมูลจริง

           3. ใช้ภาษาในการสื่อสารที่ชัดเจน เข้าใจง่าย : ใช้ภาษาในการสื่อสารที่ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย และตรงไปตรงมาเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวสถานการณ์

           4. สื่อสารอย่างมีจิตวิญญาณ ด้วยความเข้าใจ และความปรารถนาดี : การสื่อสารบนพื้นฐานของเจตนารมย์ มีจิตวิญญาณด้วยความเข้าใจ และความปรารถนาดีต่อสังคม

           5. นำเสนอตัวอย่าง และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน : สำหรับชุดข้อมูลที่มีความซับซ้อน จำเป็นที่ต้องให้รายละเอียด มีการนำเสนอที่ชัดเจน สามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพ และแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

           6. คำนึงถึง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้รับสารในขณะที่เกิดวิกฤต : ในภาวะวิกฤต อาจมีผู้ได้รับผลกระทบในหลายรูปแบบ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้รับสารต่อสถานการณ์ในขณะนั้น เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

           7. นำเสนอข้อมูลข่าวสาร จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ : นำเสนอข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูล ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิง และระบุแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารนั้น

           8. ไม่นำเสนอ หรือขยายข้อมูล ข่าวสารที่มีเนื้อหาที่บิดเบือน : ไม่นำเสนอ ส่งเสริม ขยายข้อมูล ข่าวสารที่มีเนื้อหาที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง หรือไม่สามารถตรวจสอบได้

           9. ไม่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ข้อความอันเป็นเท็จ ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายต่างๆ : ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารในเครือข่ายออนไลน์ส่งผลต่อการรับรู้ ไม่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ข้อความอันเป็นเท็จ การนำเสนอขยายผลในระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายออนไลน์ และช่องทางต่างๆ

           10. อย่าเพียงแค่วิพากย์ วิจารณ์ หรือสื่อสารปรากฏการณ์บนสื่อสาธารณะ แต่ควรให้ความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหา : ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา อย่าเพียงแค่วิพากย์ วิจารณ์ หรือสื่อสารปรากฏการณ์บนสื่อสาธารณะอย่างไร้ทิศทาง ไม่เป็นระบบ แต่ควรให้ความร่วมมือ นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

           11. สนับสนุนการทำงานของสื่อ ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ในห้วงเวลาที่เหมาะสม : การติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด สนับสนุนการทำงานของสื่อในทุกแขนง ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และนำเสนอในห้วงเวลาที่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรับรู้ และความเข้าใจของสังคม

           12. การสื่อสาร หรือนำเสนอในรูปแบบที่ผ่อนคลาย อารมณ์ขันที่เหมาะสม ความบันเทิงที่สร้างสรรค์ จะเป็นยาขนานเอกในยามวิกฤต : เป็นธรรมดาว่าวิกฤต ย่อมก่อให้เกิดภาวะที่ตึงเครียด การสื่อสาร หรือนำเสนอในรูปแบบที่ผ่อนคลาย อารมณ์ขันที่เหมาะสม ความบันเทิงที่สร้างสรรค์อยู่บนพื้นฐานของความพอดี จะเป็นยาขนานเอกในยามวิกฤต ที่จะทำให้บรรยากาศและสถานการณ์คลี่คลายได้

           ทั้งนี้ การประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารในภาวะวิกฤตในช่วงการระบาดไวรัส Covid-19 นั้น มีผลกระทบมากมายหลายด้าน ส่งผลต่อประชากร และสังคมทั่วโลกจึงจำเป็นต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสม โดยใช้แนวคิดด้านการจัดการ และการสื่อสาร การสร้างความร่วมมือเพื่อนำมาใช้ในสื่อสาร ทำให้มวลมนุษยชาติสามารถอยู่ร่วมกันภายใต้บริบททางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม ให้กลับมาสู่เหตุการณ์ปกติ โดยเร็วที่สุด

These are the 12 points Global Alliance (GA- The Global Alliance for Public Relations and Communication Management) in corporate with PRTHAILAND : Thailand Public Relations Association) and APRN : ASEAN Public Relations Network) consider relevant to make a responsible communication about the coronavirus (Covid-19) and its impact on the social coexistence, the economy and, in general, all human relationships.

1. Before communicate, think about the impact of your message beyond your organization.

2. Do not hide the impact of the pandemia. Be realistic in your communications, based on facts.

3. Use straightforward, plain language to minimize dramatizing the situation.

4. Include hope in the spirit of the communications.

5. Spread good examples and practices.

6. Identify and legitimize people’s emotions.

7. Give priority to messaging from official sources.

8. Avoid sharing fake news. Be critical of sources of information.

9. Don't saturate networks with messages.

10. Don’t spend time criticizing public communication. Try to cooperate with them to improve.

11. Support the work of the media providing accurate information in the right moment.

12. Good humor is an antidote to crisis, as long as it is not frivolous