S
[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
 
12.06.58
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดอบรม“การเขียนข่าวและบทความ สำหรับการประชาสัมพันธ์ ”
 
        กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จัดอบรม“การเขียนข่าวและบทความ สำหรับการประชาสัมพันธ์ ” ให้กับข้าราชการ พนักงาน ทางด้านประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร วิชาการ และส่วนงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

        ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้บรรยาย ให้ข้อเสนอแนะ และฝึกอบรมในประเด็น ดังกล่าว ในส่วนของการบรรยาย นั้น นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้กล่าวว่า “การเขียนเพื่อการสื่อสารที่ดี จะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ว่าเป็นการเขียนเพื่อบอกกล่าวให้ทราบ เข้าใจ เป็นการเขียนเพื่อเผยแพร่ ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่กลุ่มเป้าหมาย การเขียนเพื่อให้เกิดการยอมรับ เป็นการเขียนเพื่อโน้มน้าว ชักจูงให้คล้อยตาม การเขียนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นการเขียนแบบอธิบาย แถลง ชี้แจงอย่างชัดเจนเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ รายละเอียดและน่าเชื่อถือ อาจต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ การเขียนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เป็นการนำจุดเด่นขององค์กรมากล่าว เพื่อสร้างความ เลื่อมใส ศรัทธาหรือภาพลักษณ์อันพึงประสงค์ หรือการเขียนเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอธิบายเหตุการณ์ต่างๆให้เข้าใจ อย่างชัดเจนใช้ถ้อยคำที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับสาร การเขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ให้ความสำคัญกับการทำให้ผู้รับได้รับรู้ความเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วยความรู้สึกผูกพัน และมีส่วนร่วม รวมทั้งการเขียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด กิจกรรมองค์กร เป็นการเขียนเพื่อส่งเสริมให้สินค้าหรือบริการเป็นที่ยอมรับ และต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น นำเสนอเรื่องราวที่สัมพันธ์ กับกิจกรรมทางธุรกิจอย่างใกล้ชิด”

        นอกจาก เทคนิค ในการเขียนต่างๆ แล้ว ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ยังได้กล่าวถึง คุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะทำหน้าที่การเขียนเพื่อสื่อสาร ว่า การเขียนที่ประสบความสำเร็จได้ ผู้เขียน จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มประชาชน และช่องทางการสื่อสาร มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องราวในกิจกรรมของหน่วยงาน / องค์กร มีความรู้และเข้าใจในหลักการสื่อสาร เป็นอย่างดี ติดตามความเคลื่อนไหว รู้สถานะ ในด้านต่างๆ พอสมควร มีวิจารณญาณและสามัญสำนึกในการเป็นนักสื่อสารที่ดีเข้าใจสภาพการแข่งขันทางธุรกิจเป็นอย่างดี มีความรู้ในแขนงอื่นๆ เพื่อประกอบการทำงานเขียนให้มีประสิทธิภาพ ตื่นตัวต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังคม มีทักษะเชี่ยวชาญในการสื่อสาร และประเด็นสุดท้าย ก็คือ มีความสามารถในการพัฒนาเครือข่ายทางการสื่อสาร ได้เป็นอย่างดี



 

 

 

[an error occurred while processing this directive]