[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
 
16.04.57
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมกับ สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม ผู้ประกอบการภาคเหนือ
 
        สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมกับ สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ด้วยทรัพย์สินทางปัญญาในการเข้าสู่ตลาด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ด้วยการประกวดการพัฒนาภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม ณ ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

        ในงานดังกล่าว ได้จัดให้มีการอบรมความรู้ที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและเทคนิคการตรวจค้นข้อมูลสิทธิบัตรของประเทศไทยและนานาชาติ และ การอบรมความรู้ ด้านการพัฒนาต่อยอดสินค้าและผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและภูมิปัญญา ให้แก่ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ด้วยการบรรยาย ในหัวข้อที่เป็นประโยชน์ อาทิ ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการนำไปใช้ประโยชน์ / สร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรม / การพัฒนาสินค้าและบริการจากภูมิปัญญา / เทคนิคการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรไทยและนานาชาติ /กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มภูมิปัญญา-กลุ่มเทคโนโลยี / การตลาดของผลิตภัณฑ์ / กระบวนการสร้างแบรนด์ของสินค้าที่พัฒนาจากนวัตกรรมและภูมิปัญญาไทยในตลาด และภาคปฎิบัติ ได้แก่ เทคนิคการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรไทย การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าร่วมประกวด การพัฒนาภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม



        ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้รับเชิญให้อภิปรายในหัวข้อ “กระบวนการสร้างแบรนด์ของสินค้าที่พัฒนาจากนวัตกรรมและภูมิปัญญาไทยในตลาด” พร้อมทั้งจัดให้มีกิจกรรมเพื่อฝึกปฎิบัติและพัฒนาภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม รวมถึงได้นำเสนอ กรณีศึกษาตัวอย่างของผู้ประกอบการแบรนด์ไทย ที่ได้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมและภูมิปัญญาของไทย จนได้รับความสำเร็จเป็นที่แพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ให้กับผู้ประกอบการในภาคเหนือ ด้วย

        ในส่วนของการอภิปราย ครั้งนี้ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้กล่าวถึง การสร้างคุณค่าของ แบรนด์ของสินค้าที่พัฒนาจากนวัตกรรมและภูมิปัญญาไทย โดยใช้ประเด็นในการสร้างแบรนด์ ของสินค้าภูมิปัญญา ได้แก่
  • การนำเสนอประวัติ เรื่องราวความเป็นมา
  • การสร้างความแตกต่างในกระบวนการผลิต หรือส่วนอื่นๆ ให้เกิดความน่าสนใจ
  • การสร้างเอกลักษณ์ คุณค่าเฉพาะตัวที่เด่นชัด
  • การทำให้ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
  • การกำหนดคุณสมบัติเพื่อสนองตอบต่อความต้องการที่หลากหลาย
  • กระบวนการสร้างประสิทธิภาพของบุคลากร พนักงาน ผู้บริหาร
  • การประกอบการ ที่ดำเนินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
  • การหาช่องทางจำหน่ายมีความเหมาะสม การรองรับที่เพียงพอ
  • การสื่อสารที่มีคุณภาพ การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก รับรู้ สนใจ
  • การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
  • ให้ความสำคัญต่อการบริการ ใส่ใจกับการแก้ไขปัญหา
  • สร้างประโยชน์ต่อชุมชน มีความรับผิดชอบใส่ใจต่อลูกค้า ผู้เกี่ยวข้องและสังคม
  • ภาพลักษณ์ที่ดี ความน่าเชื่อถือของสินค้า บุคคล ชุมชน ท้องถิ่น
  • การรักษาชื่อเสียง ไม่มีเรื่องที่เสื่อมเสีย ให้เกิดความเสียหาย
        อย่างไรก็ตาม หัวใจของการสร้างแบรนด์ คือ การสร้างการรับรู้ การความจดจำ และเข้าใจถึงคุณค่าและความแตกต่าง ผู้ประกอบการนอกจากจะต้องให้สำคัญในการผลิตสินค้าแล้ว ต้องใส่ใจต่อการการสร้างแบรนด์ด้วย เพราะการมีแบรนด์ที่เข้มแข็งจะทำให้เป็นที่รู้จัก ทำให้เป็นที่ต้องการ ทำให้กำหนดราคาจำหน่ายได้ ทำให้เกิดความแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ที่ชัดเจน ทำให้เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด และผู้บริโภค ซึ่งต้องมีการติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมาย

        ทั้งนี้ จะเห็นว่าในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สินค้าไทยนอกจะต้องแข่งขันกันเองแล้ว ยังต้องรวมการแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศอีกด้วย ขณะเดียวกัน ตลาดต่างประเทศและตลาดโลก ก็กว้างใหญ่มากแต่ไม่เกิดความสามารถของคนไทย เพราะในหลายธุรกิจของคนไทยได้ทำสำเร็จ และได้รับการยอมรับทั้งแบรนด์จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมาแล้ว

 

 

 

[an error occurred while processing this directive]