ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย พร้อมด้วย ศรสุทธา กลั่นมาลี นายกสมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย (ถั่วแระ เชิญยิ้ม) นำคณะเข้าชมการแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอน หนุมานชาญกำแหง ณ ศาลาเฉลิมกรุง โรงมหรสพหลวงของไทย โดยมี รองศาสตราจารย์จรรมนง แสงวิเชียร กรรมการบริหารศาลาเฉลิมกรุง ให้การต้อนรับนอกจากนี้ยังได้จัดครูโขนบรรยายความเป็นมาของการแสดงโขน ด้วย
โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย เกิดจากการประสานการ ละเล่น โบราณ ๓ ประเภท เข้าด้วยกัน คือ การเล่นชักนาค ดึกดำ บรรพ์ การละเล่นกระบี่กระบองและการเล่น หนังใหญ่ รวมทั้งบทร้องและการรำที่มาจากละครใน
เดิมผู้แสดงต้องสวมหัวโขนเป็นหน้ากากปิดหน้าทั้งหมดจึงต้อง มีผู้ออกเสียงแทนผู้แสดง เรียกกันว่า คนพากย์เจรจาโดยผู้แสดง ต้องรำทำท่าเต้น และแสดงอิริยาบถไป ตามคำพากย์เจรจาและ บทขับร้องจากลูกคู่และต้นเสียง ที่ร้องบทให้ ต่อมามีวิวัฒนาการ ให้ผู้แสดงที่แสดงเป็น มนุษย์ ทั้งชาย และหญิง รวมทั้งเทวดา นางฟ้า สวมแต่ศิราภรณ์โดยไม่ต้องสวมหัวโขนเหมือนยักษ์และ ลิงแต่ยังคงมี ผู้พากย์และเจรจาแทนตัวโขนอยู่เช่นเดิม
  |
เรื่องที่นิยมใช้แสดงโขนคือ รามเกียรติ์ ซึ่งมีเค้าโครงเดิม จากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย รจนาโดยฤษีวาลมีกิเป็นเรื่อง ปางหนึ่งซึ่งพระนารายณ์ อวตารลงมาเป็นมนุษย์ คือพระรามเพื่อ ดับทุกข์เข็ญ แก่ปวงเทพเทวดา และมวลมนุษย์ที่ถูกเหล่าอสูร เบียดเบียน นั่นคือทศกัณฐ์ พญายักษ์ เจ้ากรุงลงกา
มูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดทำโครงการ โขนศาลา เฉลิมกรุง ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าวและเพื่อร่วมทำนุบำรุง และสืบสานศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ สู่สายตาประชาชนทั้งชาวไทยและประชาคมโลก รวมทั้งยังเป็นการดำเนินการตามรอยพระยุคลบาทในการ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ของชาติ
นอกจากการจัดแสดง โขน ซึ่งเป็นนาฏกรรมชั้นสูงของ ไทยแล้ว สถานที่จัดแสดง คือ ศาลาเฉลิมกรุงก็เป็นโรงมหรสพ หลวง ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่ากึ่งศตวรรษเป็น เสมือนสถาบันสัญลักษณ์แห่งการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมประจำ ชาติ ด้วยรูปแบบของการแสดงอันวิจิตรตระการตา และถูกต้อง ตามขนบจารีตแบบแผน ทำให้คนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนไทยได้ตระหนัก ซาบซึ้ง และภาคภูมิใจในคุณค่าแห่ง ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เป็นการสืบอายุศิลปะและศิลปินไทย ให้ดำรงอยู่อย่างยืนยาวและส่งผลดีต่อเกียรติภูมิของประเทศ
|